11/2/52

Egypt

ธงชาติ




ตราแผ่นดิน


เพลงชาติ
Bilady, Bilady, Bilady

เมืองหลวง
ไคโร (อัลกอฮิเราะห์)

เมื่องใหญ่สุด
อเล็กซานเดรีย

ภาษาราชการ
ภาษาอาหรับ และมาสรี (ประจำชาติ)

รัฐบาล
สาธารณรัฐ

เนื้อที่
1,001,449 กม.

ประชากร
78,887,007

GDP (PPP)
รวม 305.253 พันล้านดอลลาร์
ต่อประชากร 4,317 ดอลลาร์สหรัฐ

สกุลเงิน
ปอนด์อียิปต์ (LE) (EGP)



สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt)

หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt) (อาหรับ: مصر (มิศรุ), ถ่ายเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mişr หรือ Maşr ในภาษาถิ่นของอียิปต์) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด


ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 กม. ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย (ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ

  • ด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย

  • ด้านใต้ติดกับ ประเทศซูดาน

  • ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล

  • ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • ทางตะวันออกติดกับทะเลแดง

ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 กม.) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายซาฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง


ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ


ชื่อ Egypt มาจากชื่อภาษาละตินว่า Aegyptus และชื่อภาษากรีก ว่า Αιγυπτος (Aiguptos: ไอกึปตอส นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์) จากภาษาอียิปต์โบราณว่า Hi-ku-ptah: ฮิ-คุ-ปตาห์ ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองเทเบส





ศาสนา

ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าและมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศอียิปต์) แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ 94% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ อีก 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก


เศรษฐกิจ


รัฐบาลอียิปต์ปัจจุบันต้องเผชิญภาระที่หนักหน่วงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีหนี้สินอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อียิปต์ประสบปัญหาด้านระบบราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีขนาด ใหญ่และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างสูง รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก Paris Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น


ส่งผลจากการปฏิรูปดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของอียิปต์กระเตื้องดีขึ้นสามารถ แก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณลดลงมาก ลดปัญหาเงินเฟ้อลงได้ในระดับหนึ่งรายได้หลักของอียิปต์จากน้ำมันซึ่งผลิตได้วันละ 950,000 บาร์เรลและส่งออกขายครึ่งหนึ่ง ในแต่ละปีมีรายได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการท่องเที่ยว ประมาณปีละ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าผ่านคลองสุเอซปีละประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากแรงงานอียิปต์ในต่างประเทศ ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในตะวันออกกลางในซาอุดีอาระเบียประมาณ 1 ล้านคน ในลิเบียประมาณ 1.5 ล้านคน ส่งเงินเข้าอียิปต์ประมาณปีละ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ภายหลังการก่อวินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้อียิปต์ต้องสูญเสียรายได้ ประมาณ 1.5 – 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลอียิปต์ คาดว่า รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ ร้อยละ 20 และการส่งออก ร้อยละ 10 )


ด้านการต่างประเทศ

ช่วงปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) สมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ อียิปต์เน้นความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มประเทศอาหรับ และพยายามเข้าไปมีบทบาทสำคัญในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งในช่วงนี้ อียิปต์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากสหภาพโซเวียต และเข้ายึดคลองสุเอซเป็นของรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เพื่อหารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากคลองสุเอซเป็นทุนสร้างเขื่อนอัสวาน

ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) อียิปต์ส่งทหารไปยึดเมือง Sharm El-Shekh บริเวณตอนใต้ของแหลมไซนาย หลังจากได้เจรจาให้กองทหารนานาชาติถอนออกไปจากไซนายแล้ว พร้อมกับได้ทำการปิดช่องแคบ Tiran เพื่อมิให้อิสราเอลเดินเรือผ่าน การปฏิบัติการเช่นนี้ส่งผลให้เกิดสงครามหกวัน (Six – day War) กับอิสราเอล ฝ่ายอิสราเอลได้รับชัยชนะ อียิปต์และ พันธมิตรอาหรับได้สูญเสียดินแดน ได้แก่ ฉนวนกาซาและแหลมไซนายให้แก่อิสราเอล นับตั้งแต่ประธานาธิบดีซาดัตเข้าดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ความสัมพันธ์บางประเทศในอาหรับ อาทิ ลิเบีย และซีเรีย เย็นชาลง อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ให้ช่วยไกล่เกลี่ยในการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล

เมื่อเกิดสงคราม 18 วันจากกรณีอียิปต์ส่งทหารข้ามคลองสุเอซไปยึดครองดินแดนที่สูญเสียคืนการสู้รบได้ยุติลงโดยสหรัฐฯ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยได้ตกลงให้มีเขตปลอดทหารระหว่างเขตแดนของอียิปต์และอิสราเอล ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้น ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหภาพโซเวียตถดถอยลง ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) อียิปต์ได้ยกเลิกสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต และให้ที่ปรึกษาด้านการทหารของโซเวียตออกจากประเทศ ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อียิปต์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบันปีละประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประธานาธิบดีซาดัตได้เดินทางไปเยือนอิสราเอล เมื่อปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) เพื่อเจรจาสันติภาพ และอียิปต์ได้มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่แคมป์เดวิดเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีผลให้อียิปต์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล อิสราเอลยินยอมคืนดินแดนไซนายทั้งหมด (ยกเว้นทาบา) ให้แก่อียิปต์เมื่อปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) แต่ผลจากการลงนามดังกล่าวทำให้ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ และอียิปต์ถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับเมื่อประธานาธิบดีมูบารัคเข้าบริหารประเทศ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ได้พยายามดำเนินนโยบายที่จะนำอียิปต์กลับสู่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับกลุ่มประเทศอาหรับ ด้วยการดำเนินการในด้านต่าง ๆ อาทิ สนับสนุนขบวนการปาเลสไตน์ สนับสนุน

อิรัก ในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน สนับสนุนคูเวตในกรณีอิรักเข้ายึดครองคูเวต หลังจากนั้น ประเทศอาหรับต่าง ๆ ได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตตามปกติกับอียิปต์ ในขณะเดียวกัน อียิปต์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในการแสวงหาลู่ทางแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง ประธานาธิบดีมูบารัค ดำเนินบทบาทสำคัญในการประสานระหว่างกลุ่มอาหรับและ เป็นตัวเชื่อมในการเจรจากับอิสราเอลในปัญหาตะวันออกกลาง และพยายามแสดงบทบาทนำในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกา


ด้านการค้าระหว่างไทยกับอียิปต์


มูลค่าการค้าไทย – อียิปต์อยู่ในระดับปานกลาง ในปี 2544 มูลค่าการค้ารวม 151.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 103.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 7.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 96.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี พ.ศ. 2545 ตั้งแต่เดือน มกราคม – กันยายน มูลค่าการค้าไทย-อียิปต์รวม 96.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 88.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ-ไทยได้เปรียบดุลการค้า 80.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปอียิปต์ ที่สำคัญได้แก่ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ใบยาสูบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป อียิปต์ระบุให้เป็นสินค้าห้ามเข้า แต่ก็มีการลักลอบนำเข้า โดยจะทำในลักษณะการค้านอก รูปแบบ)

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอียิปต์ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก หนังดิบและหนังฟอก เครื่องตกแต่งบ้านเรือน ดินสอ ปากกา หมึกพิมพ์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับการพิมพ์ สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

ในปัจจุบันอียิปต์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น และมีการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเข้าไปประกอบอุตสาหกรรมและลงทุนสาขาต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทที่ไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียิปต์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอียิปต์ได้เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market of Eastern and Southern Africa – COMESA) ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) โดยมีจุดมุ่งหมายขยายตลาดสินค้าอียิปต์เข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา ฝ่ายไทยจึงอาจพิจารณาสนับสนุนให้นักลงทุนไปลงทุน/ร่วมลงทุนในอียิปต์เพื่อการ ส่งออกไปยังตลาดร่วมแอฟริกาในอนาคต หรือมุ่งใช้อียิปต์เป็นประตูสู่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา เมื่อเดือน มิ.ย. 44 อียิปต์ได้ลงนามร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) ในความตกลง Euro-Mediterranean Association Agreement ซึ่งจะมีผลตต่อความสัมพันธ์กับอียูในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การเงิน ลังคม วัฒนธรรมและการกงสุล




3 ความคิดเห็น:

  1. โอ้..

    แวะมาทักทายครับ

    อิยิปต์นี่ก็น่าสนใจนะเนี่ย

    ตอบลบ
  2. เพิ่งรุนะคร่าเนี่ยว่าอิยิปท์ใช้เงินปอนด์ (ถึงแม้จะเป็นปอนด์อิยิปท์ก้อเถอะนะ)

    อิอิ

    เป็นเมืองลับแลของโลกใบนี้จิงๆ

    น่าสนใจๆ ;P

    ตอบลบ
  3. อืม..ดีๆ ของเขาดีจริงๆ

    ตอบลบ