11/2/52

Wonder of Africa


7 สิ่งมหัศจรรย์ในทวีป Africa


ชื่อสถานที่
หอประภาคารโรส : The Lighthouse of Alexandria (Pharos)

สถานที่ตั้ง
เกาะฟาโรส เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์

ปัจจุบัน
ไม่เหลือซาก

ประภาคารนี้ทำด้วยหินอ่อนสีขาวสลีกลวดลาย วิจิตรงดงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ท่าเรือของเกาะฟาโรส สร้างในสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่สองของอียิปต์ช่วงปี 270 ปีก่อนคริสตกาลสิออกแบบโดยสถาปนิกชาวกรีกชื่อโซสตราโตส


ตามหลักฐานคาดว่าประภาคารนี้สูงถึง 440 ฟุต หรือ 134 เมตร ช่วงล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ช่วงกลางเป็นรูปแปดเหลี่ยม และช่วงบนเป็นทรงกลม ยอดบนสุดกของประภาคารนี้ มีภาชนะสำหรับใส่ถ่าน ซึ่งลุกโชติช่วงทั้งวันทั้งคืนเพื่อเป็นไฟสัญญาณไฟบนยอดประภาคารนี้เห็นได้ไกลในทะเลเมดิเตอเรเนียนถึง 25 ไมล์ หรือ 40 กิโลเมตร และช่วงบนมีกระจกขนาดใหญ่ ตามตำนานเล่าขานกันมา กระจกนี้สะท้อน เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล ข้ามไปจนถึงภาคตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนทและเอเชียไมเนอร์


ยังมีการเล่าต่อกันมาอีกว่ากระจกนี้ยังมอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชสำคัญสะท้อนแสงอาทิตย์ไปเผา เรือศรัตรูในทะเล เพราะเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเหล่านี้ ทำให้ประภาคารแห่งเมืองอเล็กซานเดรียนี้มีชื่อเสียง เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก แม้ว่าไม่ใช่ประภารแห่งแรกในทะเลเมดิเตอเรเนียนแต่ก็เป็นอันที่ใหญ่ที่สุด ประภาคารนี้ได้ชื่อมาจากชื่อเกาะที่มันตั้งอยู่ คือธิฟาโรสชัและกลายมาเป็นชื่อเรียกประภาคารในภาษาต่าง ๆ


ประภาคารฟาโรสตั้งตระหง่านนำทางสัญจรของเรือเข้าสู่เมืองอเล็กซานเดรียมาเป็นเวลา 9000 ปี จนกระทั่งพวกอาหรับเข้ายึดครองเมือง ประภาคารก็ถูกรื้อทิ้งไป เล่ากันมาว่พวกอาหรับถูกสายลับซึ่งจักรพรรดิ แห่งคอนสแตนติโนเปิ้ลส่งมาหลอกลวงให้ทำลายประภาคารเสีย เพื่อไม่ให้ใช้มันเป็นประโยชน์ในการเดินเรือของพวกมุสลิม สายลับอ้างว่าข้างใต้ประภาคารมีขุมทรัพย์ฝังอยู่ แต่หลังจากประภาคารถูกทำลายไปแล้วพวกอาหรับถึงตระหนักว่าเสียรู้ ในช่วงนั้นกระจกขนาดใหญ่ก็หล่นร่วงลงมาและแตกละเอียดเป็นผุยผง มีบางส่วนของประภาคารหลงเหลือ และส่วนนี้ก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นจนปี ค.ศ. 1375ยจนแผ่นดินไหวในเมืองอเล็กซานเดรียพังประภาคารชื่อดังก็ทลายลงมาจนสิ้นซาก













ชื่อสถานที่
ปิรามิดแห่งกิซ่า: The Great Pyramid of Egypt

สถานที่ตั้ง
เมืองกิซา ประเทศอียิปต์

ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้

ปิรามิดเป็นสิ่งก่อสร้างรูปกรวยเหลี่ยมสำหรับเป็นที่เก็บศพกษัตริย์อียิปต์โบราณ ในอียิปต์มีอยู่ 70 ด้วยกัน แต่ปิรามิด 3 แห่งที่อยู่เมืองกีซ่า คือ หลุมฝังศพของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์(พระเจ้าคูฟู) คีเฟรน และไมซีรีนัส เป็นปิรามิดที่ใหญ่ที่สุดสันนิษฐานว่าปิรามิดนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ 4600 ปีมาแล้ว นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่า ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและยังคงตั้งตระหง่านอยู่เพียงแห่งเดียวในโลก ใช้เวลาสร้าง 10 ปี


ปิรามิดที่ยิ่งใหญ่ทั้งสามอันแห่งเมืองกีซ่านี้ ที่ใหญ่ที่สุดคือปิรามิดของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์ เรียกว่ามหาปิรามิด


  • ฐานของปิรามิดแห่งนี้มีความกว้างถึง 570,000 ตาราง768 ฟุต บริเวณฐานปิรามิด 4 ด้านนั้น มีความกว้างยาวเท่ากัน คือ 755 ฟุต หรือ 230.12 เมตร จะแตกต่างกันมากน้อยแค่ 8 นิ้ว


  • ตัวมหาปิรามิดนี้สูงประมาณ 432 ฟุตประมาณได้ว่ามีหินก้อนมหึมาถึง 2,300,000 ก้อน หนักกว่า 6,000,000 ตัน แต่ละก้อนหนักถึง 2.5 ตัน บางก้อนหนักถึง 16 ตัน กว้างยาวประมาณ 3 ฟุต หรือ 1 เมตร

สันนิษฐานว่าผู้สร้างปิรามิดนี้อาศัยดวงดาวเป็นหลัก นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของปิรามิดแล้ว การก่อสร้างให้สำเร็จยัง น่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าหลายเท่าถ้าทราบว่าหินเหล่านี้ต้องสกัดมาจากภูเขาที่อยูไกล แล้วลากมาสู่ฝั่งแม่น้ำไนล์ ล่องลงมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุดใกล้ที่ก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อส้างต้องแต่งสลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยก วางซ้อนขึ้นไปจนถึง 432 ฟุต ใจกลางปิรามิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออพส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต หีบพระศพของพระเจ้าคีออพส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องปิรามิดของพระเจ้าคีออพส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และปิรามิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง ซึ่งเป็นของสมาชิกในราชวงศ์และในราชสำนักชั้นสูง


ปิรามิดแห่งที่สองของกีซ่าเป็นปิรามิดคีเฟรน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาปิรามิด เล็กกว่ามหาปิรามิดเล็กน้อย คือสูง 460 ฟุต ช่วงบนของปิรามิดนี้มีลักษณะเด่นเพราะเป็นหินปูนขาว ปิรามิดไมซีรีนัส เป็นปิรามิดที่เล็กที่สุดในบรรดาทั้งสามแห่ง สูงแค่ 230 ฟุต นอกเหนือจากปิรามิดทั้งสามแล้วยังมี ตัวสฟิงซ์ซึ่งมีชื่อเสียงมากเช่นกัน โดยแกะสลักหินก้อนใหญ่เป็นรูปสิงโตหมอบอยู่แต่หน้าเป็นมนุษย์ใบหน้านี้เป็นใบหน้าของพระเจ้าคีเฟรน ซึ่งมีคนนับถือเป็นพระเจ้าแห่งพระอาทิตย์ รูปสฟิงซ์นี้สูงถึง 66 ฟุต ยาว 240 ฟุต หมอบเฝ้าปากทางที่พามุ่งตรงไปยังปิรามิดแห่งคีเฟรน














ชื่อสถานที่
สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย ( คาตาโคมป์ ) : Catacombs of Alexandria Egypt

สถานที่ตั้ง
เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์

ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้


สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย เป็นอุโมงค์ที่เก็บศพ และทรัพย์สมบัติของกษัตริย์อียิปต์โบราณ อุโมงค์ฝังศพนี้ มีชื่อเรียกว่า คาตาโคมบ์ (Catacombs) เป็นอุโมงค์ที่สร้างด้วย หินก้อนใหญ่ ๆ และ ขุดลึกลงไปเป็นชั้นๆ บางตอนลึกถึง 21 ถึง 24 เมตร (70-80 ฟุต) มีทางเดินกว้างถึง 1.2 เมตร (3-4 ฟุต) วกไปเวียนมา เป็นระยะทางหลาย ๆ กิโลเมตร ตามริมผนังของอุโมงค์เป็นช่อง ๆ ไว้ สำหรับเป็นที่ บรรจุศพ มีแท่นบูชาอยู่หน้าช่องบรรจุศพเหล่านั้น พร้อมตะเกียงดวงเล็กๆ แขวนไว้ บางส่วนของอุโมงค์ตกแต่งทั่ว ๆ ไปไว้อย่างวิจิตรงดงาม ปัจจุบันยังคงมีสภาพสมบูรณ์











มหัศจรรย์ สิ่งก่อสร้าง



ชื่อสถานที่
วิหาร อาบู ซิมเบล: Abu Simbel

สถานที่ตั้ง
เมืองอัสวาน ประเทศอียิปต์

ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้

วิหาร อาบู ซิมเบล ( Abu Simbel )สร้างโดยฟาโรห์ Rames The Great ( Ramses II ) เป็นวิหารที่สร้างจากจินตนาการที่แปลก และสวยงามที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ห่างจากสนามบินอัสวานไปอาบู ซิมเบล ซึ่งห่างไปทางใต้ประมาณ 200 ไมล์ ใกล้เขตแดนประเทศซูดาน มีขนาดใหญ่มากสร้างขึ้นเมื่อปี 1270 BC หรือประมาณ 3260 ปีมาแล้ว โดยสกัดเจาะภูเขาย่อม ๆ ทั้งลูก ด้านหน้าหันไปทางตะวันออก ประกอบด้วย 2 วิหารด้วยกันคือ วิหารใหญ่ และวิหารเล็กวิหารใหญ่สร้างขึ้นสำหรับพระองค์เอง มีรูปหินแกะสลักของฟาโรห์ Ramses II นั่งบนบัลลังก์ 4 องค์ เรียงกันข้างละ 2 องค์ หันหน้าไปทางแม่น้ำ เพื่อแสดงถึงพลังและอำนาจของฟาโรห์ที่คอยดูแลปกป้องเหล่าเรือใบที่แล่นในแม่น้ำไนล์ ตรงกลางเจาะเป็นประตูทางเข้า ที่เท้าแกะสลักเป็นรูปพระมารดา พระราชินีและโอรสธิดาอีก 8 องค์ ยืนตรงเรียงสลับระหว่างเท้าง 8 เป็นแนวตลอด รูปพระเจ้าฟาโรห์ สูงถึง 20 เมตร สร้างไว้ขู่พวก Nubia ซึ่งเป็นพวกอาฟริกันผิวดำ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นมิให้กระด้างกระเดื่อง ส่วนวิหารเล็ก สร้างอุทิศเพื่อมเหสี เนเฟอร์ทารี เพื่อทำการบวงสรวง เทพีฮาธอร์ อันเป็นเทพีแห่งดนตรีและความรักเปรียบเสมือนความรักระหว่างทั้ง 2 พระองค์


ตรงเหนือประตูทางเข้า The Great Hypostyle Hall มีรูปสลักของ เทพเหยี่ยว แต่ก็ไม่สมบูรณ์ นักเพราะส่วนเท้าขาดหายไป ด้านในเป็น หอศักดิ์สิทธิ์ สองข้างทางจะมีหินแกะสลัก เป็นรูปของ Ramses II ยืนตรงข้างละ 4 องค์ตั้งอยู่ ตามผนังเขียนประวัติด้วยภาษา Hieroglyphics ถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์ มีเสาขนาดใหญ่หลายต้นสลักเป็นรูปของฟาโรห์รามเสส แขนทั้งสองประสานกันอยู่ ที่หน้าอกถือแส้และคทา สูงถึง 10 เมตร เรียงรายอยู่สองฝั่งเพื่อค้ำจุนหลังคา บนเพดานหินมีการสลักรูปเทพโอริซิส ฝาผนังทุกด้าน ถูกแกะสลักเป็นรูปฟาโรห์รามเสสที่สอง ในอิริยาบทต่างๆในการรบ เช่น กำลังจะแทงหอก คร่อมอยู่เหนือศัตรู ฯลฯ


ห้องชั้นในสุดลึกจากประตูทางเข้ามา 65 เมตร มีรูปหินแกะสลัก 4 องค์ประดิษฐานอยู่ คือ เทพเจ้า Amon,Ramses II,Hamakis และ Ptah ในแต่ละปีจะมีอยู่ 2 วันคือวันที่ 21 มีนาคม และ 21กันยายน เวลา 5.58 น.แสงอาทิตย์จะส่องผ่านประตูทางเข้าเข้ามาส่องแสงไปที่ Amon และ Ramses II ก่อน แล้วจะค่อยๆเลื่อนไปที่ Hamakis จะส่องสว่างอยู่ประมาณ 20 นาที โดยจไม่มีแสงส่องไปที่ เทพเจ้า Ptah เลย เพราะเทพเจ้า Ptah คือเทพเจ้าแห่งความมืดในสมัยโบราณพระเจ้าฟาโรห์จะเสด็จมาอยู่ที่นี่พร้อมด้วยข้าราชบริพาร เพื่อประกอบพิธีกรรม เป็นงานใหญ่โตในสองวันนี้ ที่น่าทึ่ง คื่อ คนโบราณสมัยนั้นสามารถเจาะหินเป็นช่องจากประตุทางเข้าเป็นแนวตรงไปสู่ห้องที่ลึกที่สุดได้องศากับ ดวงอาทิตย์ส่องแสงใน 2 วันนั้นพอดีโดยไม่ผิดเลย


ออกมาข้างนอกเดินไปทางซ้ายจะมีวิหารที่สร้างไว้ติดๆ กันคือ วิหารที่ Ramses II สร้างเอาไว้เป็นอนุสรณ์แด่พระนาง Nefertari พระราชินีที่พระองค์รักและโปรดมากที่สุด เป็นรูปสลักของ ฟาโรห์รามเสสที่สองในท่ายืนสี่รูป สลับกับ รูปสลักของ ราชินีเนเฟอร์ทารี่ในท่ายืน อีกสองรูป ตรงตำแหน่งเท้า มีรูปสลักของโอรสและธิดาของทั้งสอง อันนี้ค่อนข้างแปลก การก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นวิหาร หรืออนุสรณ์สถานต่างๆ ในสมัยโบราณมักจะเป็นของพระเจ้าแผ่นดินสร้างให้ตนเอง หรือสร้างให้เทพเจ้าเท่านั้น การสร้างให้ราชินีครั้งนี้ จึงเป็นกรณีพิเศษจริงๆ


แม้วิหารมีขนาดใหญ่ แต่ก็ถูกทรายจากทะเลทรายพัดมา กลบทีละเล็กละน้อยตลอดระยะเวลาพันๆ ปี จนมิด จนกระทั่งฝรั่ง นักท่องเที่ยวชาวสวิสมาค้นพบเข้าเมื่อปี ค.ศ. 1813 คือประมาณร่วม 189 ปี มาแล้ว และเมื่อราว ค.ศ. 1964 ก็หวิดจะสาบสูญอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้จะจมลงไปใต้น้ำ เพราะหลังจากอียิปต์สร้างเขื่อนกั้นน้ำอัสวานแล้ว น้ำในทะเลสาบนัสเซอร์สูงขึ้น ต้องหาสทางช่วยยกขึ้นหนีน้ำ องค์การยูเนสโกของสหประชาชาติ ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย โดยใช้เงินถึง 40 ล้านดอลลาร์ จ้างคณะวิศวกร และคนงานออกแบบตัดวิหารออกเป็น 1,050 ส่วน แต่ละส่วนหนักเป็นสิบๆ ตัน แล้วยกขึ้นไปประกอบกันใหม่สูงจากระดับเดิมถึง 215 ฟุต โดยสร้างภูเขาเทียมรูปโดม (เป็นโพรงด้านใน) ด้วยคอนกรรีตเสริมใยเหล็กให้เมือนเดิมทุกประการ แล้วเอาชิ้นส่วนที่ตัดมาประกอบเข้าทั้งภายนอกและภายใน เหมือนจริงมาก แม้รอยต่อระหว่างชิ้นก็มองไม่เห็น
















ชื่อสถานที่
เขื่อนกั้นน้ำอัสวาน: Aswan High Dam

สถานที่ตั้ง
ประเทศอียิปต์

ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้


เขื่อนกั้นน้ำ Aswan High Dam ซึ่งสร้างโดยรัสเซียเมื่อปี ค.ศ.1960 และมาเสร็จตอนกลางปี ค.ศ.1968 ใช้เงินไปร่วมพันล้านเหรียญ เป็นเขื่อนขนาดยักษ์สูงถึง 365 ฟุต และยาว 3,280 ฟุต ขวางกั้นแม่น้ำไนล์ทั้งสาย ทำให้เกิดทะเลสาบ Lake Nasser ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกรียรติแก่ประธานาธิบดีของอียิปต์ Gamal Abdel Nasser เป็นทะเลสาบใหญ่มาก คือยาวถึง 200 ไมล์ และกว้าง 10 ไมล์ เรียกว่าในกระบวนทะเลสาบที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้ว มันใหญ่เป็นที่สองของโลก(ที่หนึ่งคือทะเลสาบที่เกิดจากเขื่อน Kariba Dam กั้นแม่น้ำ Zambesi ในประเทศ Zambia)


เขื่อนอัสวานสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร และเมื่อติดกตั้งเครื่อง Turbines 12 เครื่องเสร็จในปี ค.ศ. 1970 แล้วสามานรถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึงหมื่นล้านกิโลวัตต์ต่อปี ทำให้หมู่บ้านถึง 100 แห่งมีกระแสไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก จึงพอเรียกได้ว่าดครงการเขื่อนกั้นน้ำแห่งนี้เป็นดครงการ "ลดความหิวโหย" ของชาวอียิปต์อย่างแท้จริง















ชื่อสถานที่
คลองสุเอซ: Suez Canal

สถานที่ตั้ง
ประเทศอียิปต์

ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้


คลองสุเอซเป็นคลองเดินเรือสินค้าติดต่อทางลัดระหว่างยุโรปกับเอเชีย ขุดตัดคอคอดจากเมืองปอร์ดซาอิดด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังเมืองสุเอซ ด้านทะเลแดง มีความยาว 101.04 ไมล์ กว้าง 200 ถึง 300 ฟุต ลึก 25 ถึง 30 ฟุต เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ. 2402 เสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2412 สิ้นเงิน 17,000,000 ปอนด์ ช่วยย่นระยะทางที่เคยอ้อมทวีปแอฟริกาใต้ได้ 8,320 กิโลเมตร นายช่างวิศวกรผู้อำนวยการขุดคลองนี้คือ เฟอร์ดินัน เดอ เลสเซปส์ ชาวฝรั่งเศส นับเป็นคลองที่มีความสำคัญในทางการค้าและในทางยุทธศาสตร์ของโลกแห่งหนึ่ง

















มหัศจรรย์ ธรรมชาติ



ชื่อสถานที่
น้ำตกวิคตอเรีย: Victoria Falls


สถานที่ตั้ง
ครอบคลุมถึงสองประเทศ คือ ซิมบับเว และแซมเบีย


ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้


น้ำตกวิคตอเรีย (Victoria Falls) น้ำตกที่ใหญ่และสวยงามติดอันดับโลก



ผู้ค้นพบและนำมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รับรู้ ก็คือ เดวิด ลิฟวิ่งสโตน ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1855จุดประสงค์ในการสำรวจนั้นเพื่อต้องการที่จะทราบว่าลำน้ำสายหนึ่งซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหตุใดจีงหายเข้าไปในซอกรอยแยกของแผ่นดิน ลิฟวิ่งสโตนเริ่มเดินทางไปตามเส้นทางของแม่น้ำแซมเบซีเพื่อหาต้นกำเนิดของแม่น้ำสายนี้ หลังจากผ่านความยากลำบากมามากมาย ลิฟวิ่งสโตนก็เดินทางมาถึงเขตแองโกลา ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านแอตแลนติก ในช่วงเดินทางกลับนั้น ลิฟวิ่งสโตนเดินทางลงมาตามลำน้ำเพื่อไปยังบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก เขาก็ได้พบกับน้ำตกวิคตอเรีย ภายหลังอยู่ในแอฟริกาได้ 16 ปี หลังจากนั้นลิฟวิ่งสโตนจึงเดินทางกลับอังกฤษ แล้วเขาก็ได้แถลงความจริงออกมาว่า บริเวณภายในส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกานี้มิได้เป็นเพียงทะเลทรายเท่านั้น แต่ยังมีดินแดนที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่เป็นป่าและน้ำมากพอสมควร หลังจากที่ได้ค้นพบแล้ว เดวิด ลิฟวิ่งสโตน จึงได้ทราบว่า น้ำตกแห่งนี้เกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อ 150 ล้านปีที่ผ่านมา จนทำให้แผ่นดินบริเวณนี้แยกออกเป็นสองส่วน กลายเป็นน้ำตกอันยิ่งใหญ่ และเขาก็ได้ตั้งชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่า "น้ำตกวิคตอเรีย"



น้ำตกวิคตอเรียมีความยาวถึงเกือบ 2 กิโลเมตร และมีเนื้อที่ครอบคลุมถึงสองประเทศ คือ ซิมบับเว และแซมเบีย น้ำตกแห่งนี้ไหลลงสู่แม่น้ำแซมเบซีที่เชี่ยวกราก ในช่วงที่มีปริมาณน้ำมาก น้ำตกนี้จะแย่งกันทะลักพวยพุ่งลงไปยังเบื้องล่างกระทบกับหินทำให้เกิดเสียงดังและมีฟองฝอยฟุ้งเป็นละอองน้ำ ดุจมีหมอกครื้มครอบคลุมไปทั่วบริเวณ และขณะเดียวกันจำนวนน้ำที่มาก ก็ทำให้เกิดเสียงดังกึกก้องสะท้านดุจเสียงคำรามของสัตว์ป่า ในบางจุดเกิดละอองน้ำที่พวยพุ่งขี้นสู่ท้องฟ้าได้ถึง 500 เมตร สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ๆ ละอองน้ำแห่งนี้จึงได้รับสมญานามว่า "ควันซึ่งส่งเสียงร้องคำราม" ความลึกของน้ำตกแห่งนี้เริ่มตั้งแต่ 90-108 เมตร โดยเริ่มจากจุดแรก ที่เรียกว่า เดวิด คาทาแรคท์ (Devil's Cataract) ซึ่งบริเวณนี้จะมีแก่งในแม่น้ำหรือคาทาแรคท์อยู่ถัดออกไป และช่วงนี้จะเป็นช่วงสำคัญของน้ำตก


ถ้ามองไปทางด้านตะวันออกเมื่อยามพระอาทิตย์ปรากฏจะสามารถเห็นรุ้งกินน้ำได้อย่างชัดเจน และนับเป็นจุดที่สวยที่สุด โดยเรียกจุดนี้ว่า คาทาแรคท์ตะวันออก ใกล้ ๆ บริเวณนี้มีรูปปั้นของลิฟวิ่งสโตนตั้งอยู่ สายน้ำเหล่านี้จะไหลเรื่อยกลายเป็นแม่น้ำแซมเบซีซึ่งจะขยายใหญ่ขึ้นทุกที ๆ ผ่านช่องเขาบาโตกัวในลักษณะเชี่ยวกรากและรุนแรงจนมีผู้ตั้งชื่อเขตนี้ว่า "หม้อน้ำเดือด" (Bolling Pot) จากนั้นก็จะไหลผ่านที่ราบ ผ่านทางรถไฟ เชื่อมต่อระหว่างซิมบับเวกับแซมเบีย และบริเวณสะพานแห่งนี้เองก็จะเป็นที่ที่ใช้สำหรับโดดบันจี้จัมพ์ของผู้ที่รักความสะใจ เพราะที่นี่นับเป็นจุดโดดที่สูงที่สุดในโลก น้ำตกวิคตอเรียแห่งนี้ไม่เคยเหือดแห้ง สามารถผลิตน้ำได้ถึงห้าล้านคิวบิคเมตรต่อนาที ในช่วงหน้าฝน ช่วงที่คนมาเที่ยวมากที่สุดก็คือระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนเพราะทิวทัศน์จะสวยงาม มีละอองน้ำไม่มาก


















ชื่อสถานที่
ยอดเขาคิลิมานจาโร: Mount Kilimanjaro

สถานที่ตั้ง
ระหว่างประเทศแทนซาเนีย กับ เค็นย่า

ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้


บนเส้นรุ้ง3 องศา 4 ลิปดา ยอดเขาคิลิมานจาโร มีเสน่ห์ดึงดูดนักสำรวจ และนักท่องเขียนมาตั้งแต่ถูกค้นพบครั้งแรกโดย โยฮาน เรบมัน และลุดวิก คราปฟ์ หมอสอนศาสนา ชาวเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1848

ภูเขาลูกนี้มีสองยอด ทั้งสองเป็นภูเขาไฟที่เงียบสงบ ที่ชื่อว่า คิโบยอดสูงกว่า เป็นยอดที่สูงที่สุดในแอฟริกา มีโพรงลึกเป็นรูปกรวยลึกถึง 113 เมตร (370 ฟุต) แนวลึกด้านตรง 122 เมตร (400 ฟุต) ตัวภูเขาไฟคิโบยังมีร่องรอยของการคุกกร่น ไม่หมดเชื้อ คือยังควันปรากฎกลิ่นกำมะถันอยู่ มาเวนสีอีกยอดหนึ่งปรากฎอย่างเด่นชัดความลึกรูปกรวย ได้ถูกตบแต่งให้เป็นขั้นเป็นหลืบชั้น สำหรับให้นักไต่เขาได้ฝึกความชำนาญ

ภูเขาคิโบไต่ขึ้นไปได้ไม่สู้ยากนัก การเดินทางสูงขึ้นสร้างความแตกต่างของอากาศ ให้แก่ผู้ไต่เขาเป็นอย่างมาก บริเวณเชิงเขามีการกรรมเขตร้อน เช่น มีการปลูกกล้วย กาแฟ ส่วนตอนขึ้นถึงระดับเมฆจะมีป่าเขตอบอุ่น ตอนยอดเขาเป็นที่ว่างเปล่าที่เต็มไปด้วยหิมะ

ตอนลาดล่างลงมาที่เป็นยอดคิลิมานจาโร มีสัตว์ป่าท่องเที่ยวหากินอยู่อย่างเสรีในธรรมชาติ ที่สงวนเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีพวก ช้าง แรด ควาย และละมั่ง มากมายช่วยให้ธรรมชาติเขตนั้น มีชีวิตชีวาและเป็นโลกทีเปลี่ยนแปลงไปแต่เพียงเล็กน้อยตั้งแต่มนุษย์เป็นนักล่าสัตว














ความแตกต่างระหว่าง ชีอะหฺและซุนนีย์

1. ความแตกต่างในเรื่องของผู้นำสูงสุด หรือตัวแทนนบีมุฮัมมัด

ชาวมุสลิมซุนนีเชื่อว่า หลังจากท่านศาสดาสิ้นชีวิตแล้ว ท่านไม่ได้มอบ อํานาจปกครอง ให้ผู้หนึ่งผู้ใด เป็นการเฉพาะ แต่จะให้ไว้ เป็นความรับผิดชอบ ของมุสลิม ได้ปรึกษาหารือกัน เพื่อเลือกผู้ปกครอง หลังจากสิ้นชีวิต ของท่านศาสดา

ชาวมุสลิมชีอะฮ์ ซึ่งถ้าว่ากันตามศัพท์แล้ว “ชีอะฮ์” หมายถึง พรรค ผู้สนับสนุน ก็คือมุสลิมกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ตำแหน่งปกครองที่สืบทอดหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิ–วะซัลลัม) เสียชีวิตนั้น เป็นสิทธิ์ของท่านอลีย์



2. ชาวซุนนีมักจะตีความกุรอานตามตัวอักษร ในขณะที่ชาวชีอะฮ์เน้นถึงความหมายภายในของกุรอาน

พวกชีอะฮ์เชื่อว่า อิมามจะเป็นผู้นำทาง ไปสู่ความเข้าใจ อัลกุรอาน ที่พระเจ้าประทาน ผ่านท่านศาสดา มายังมวลมนุษย์

มุสลิมซุนนีถือหลักฐานคำสอนของอิสลามที่ได้รับการวินิจฉัยและประมวลเป็นนิติศาสตร์อิสลาม หรือ “ฟิกฮ์” ของสำนักนิติศาสตร์ทั้งสี่ ที่เรียกว่า มัซฮับทั้งสี่ ก็มี 1. สำนักหะนะฟีย์ ที่มีอิมามอบูหะนีฟะฮ์เป็นหัวหน้าสำนัก 2. สำนักมาลิกีย์ ซึ่งมีอิมามอับดุลลอฮ์มาลิกเป็นหัวหน้า 3. สำนักชาฟิอีย์ ที่มีอิมามชาฟิอีย์เป็นหัวหน้า และ 4. สำนักฮัม–บะลีย์ ที่มีอิมามอห์มัด อิบนุฮัมบัลเป็นหัวหน้า


3. แตกต่างกัน ตรงความเชื่อเกี่ยวกับอิมาม และจำนวนอิมาม

มุสลิมชีอะฮ์กลุ่มอิษนาอะชะรียะฮ์ เชื่อว่าอิมามที่ 12 คือ มุฮัมมัด เป็นอิมามท่านสุดท้าย ท่านเป็นเจ้า แห่งกาลเวลา และ ยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะปรากฏตัวอีกครั้ง ก่อนที่จะถึง วันสิ้นโลก เพื่อ สร้างความดีงาม ความยุติธรรม และความสันติสุข อิมามท่านเหล่านี้ ก็คือ อลีย์, หะซัน, หุซัยน์, อลีย์ ซัยนุล อาบิดีน, มุฮัมมัด อัลบากิร, ญะอ์ฟัร อัศศอดิก, มูซา อัลกาซิม, อลีย์ อัรริฏอ, มุฮัมมัด อัตตะกีย์, อลีย์ อันนะกีย์, หะซัน อัลอัสกะรีย์ และมุฮัมมัด

มุสลิมชีอะฮ์กลุ่มอิสมาอีลียะฮ์ ยึดถืออิมาม เพียง 6 ท่านแรก ในกลุ่ม 12 อิมาม ส่วนชีอะฮ์กลุ่มซัยดียะฮ์ ยึดถืออิมามเพียง 4 ท่านแรกใน 12 ท่าน

ชีอะหฺ และ ซุนนีย์

ชีอะหฺ ( ชีอะห์, ชีอะฮฺ หรือ ชีอะฮ์)





เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งมีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำสูงสุด หรือตัวแทนนบีมุฮัมมัด ว่าจะต้องมาจากการแต่งตั้งของอัลลอหฺและนบีมุฮัมมัดเท่านั้น นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานอีก11คน

ชีอะหฺ ตามความหมายของปทานนุกรม หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะหฺหมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ตัวแทนของศาสดามุฮัมมัด(ศ) หลังจากท่านเสียชีวิต เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งพวกชีอะหฺจึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ

การเริ่มต้นชีอะฮฺครั้งแรก เริ่มที่ชีอะหฺของอะลีย์(อ.) (ซึ่งฝ่ายชีอะหฺเชื่อว่าท่านคือผู้นำคนแรกจากบรรดาผู้นำ(อิมาม) ที่บริสุทธิ์ทั้ง 12 ท่าน ภายหลังจากท่านศาสดา (ศ) ) ซึ่งชีอะฮฺของอะลีได้เริ่มต้นตั้งแต่ยุคที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ การเผยแพร่ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตลอด 23 ปีนั้นเป็นสาเหตุทำให้มีผู้คนจำนวนมากมายเข้ารับอิสลาม มีการเติบโตและเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วการเกิดกลุ่มเล็ก กลุ่มน้อยเป็นเรื่องธรรดาของการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้เกิดขึ้นในหมู่ของเหล่าเศาะฮาบะฮฺ (สาวก) ของท่านศาสดาเช่นกัน

อนึ่ง ชื่อกลุ่มแรกที่ถูกกล่าวในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือ ชีอะฮฺซึ่งหมายถึงท่าน ซัลมาน อบูซัรฺ มิกดารฺ และท่านอัมมารฺ (ฮาฎิรุ้ลอาลัมมิ้ลอิสลามมี 1 : 188)



ประการแรก

ท่านศาสดาในวันแรกของการแต่งตั้งได้มีบัญชาลงมาว่า ให้ท่านเชิญชวนครอบครัวของท่านเข้ารับศาสนาที่ท่านนำมาเผยแพร่ อัล-กุรอานกล่าวว่า“เจ้าจงเตือนวงศ์ญาติที่ใกล้ชิดของเจ้า” (อัช-ชุอะรออฺ :214)
ในวันนั้นท่านได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า“ใครก็ตามตอบรับคำเชิญชวนของท่านเป็นคนแรก ท่านจะแต่งตั้งให้เขาเป็นตัวแทนของท่านทันที” และท่านอะลี (อ.) เป็นคนแรกที่ตอบรับคำเชิญชวนของท่านศาสดา ซึ่งศาสดาก็ได้ปฏิบัติตามคำสัญญาของท่าน *

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “ฉันได้กล่าวกับท่านศาสดาว่า ฉันเป็นเด็กกว่าใครเพื่อนและฉันจะได้เป็นตัวแทนของท่านหรือ ขณะนั้นท่านศาสดาได้เอามือมาแตะที่ต้นคอของฉันและกล่าวว่า เขาผู้นี้คือน้องชายของฉันและเป็นตัวแทนของฉัน จำเป็นที่พวกท่านทั้งหลายต้องปฏิบัติตามเขา ซึ่งประชาชนได้พากันหัวเราะเยาะท่านศาสดา และหันไปกล่าวกับอะบีฏอลิบว่า เขาได้สั่งให้ท่านปฏิบัติตามลูกชายของท่าน” (ตารีคฏ็อบรีย์ 2 :321 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 :116 อัล-บิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ3 :39 ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 320)

แน่นอนเป็นไปไม่ได้ที่วันแรกของการเผยแพร่ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะมีคำสั่งให้ผู้คนไปยึดถือ และปฏิบัติตามตัวแทนของท่าน ในวันนั้นท่านได้แนะนำเพียงแค่ว่า อะลีคนนี้ คือ ผู้นำและเป็นตัวแทนของฉันในวันข้างหน้า และตลอดระยะเวลาของการเผยแพร่อิสลาม ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่เคยถอดถอนท่านอะลีออกจากตำแหน่ง ขณะที่ท่านอะลี (อ.) ก็ไม่เคยแสดงตัวให้แตกต่างไปจากคนอื่น



ประการที่สอง

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้หลายต่อหลายครั้ง (ทั้งริวายะฮฺที่เป็นมุสตะฟีฏและริวายะฮฺที่เป็นมุตะวาติรฺจากรายงานของสุนนีย์และชีอะฮฺ) ว่า “ท่านอะลีนั้นบริสุทธิ์จากความผิดบาปและไม่ผิดพลาดทั้งคำพูดและการกระทำ”

ท่านหญิงอุมมุสะลามะฮฺ กล่าวว่า ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า อะลีนั้นอยู่กับสัจธรรมและอัล-กุรอาน และสัจธรรมและอัล-กุรอานนั้นอยู่กับอะลีโดยที่ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ” หะดีษดังกล่าวนี้มีรายงานจากสุนนีย์ถึง 15 สายรายงาน และจากชีอะฮฺ 11 ส่ายรายงาน ซึ่งมีท่านหญิงอุมมสะลามะฮฺ ท่านอิบนุอับบาส ท่านอบูบากรฺ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ท่านอะลี อบูสะอีดคุดรีย์ อบูลัยลา และอบูอัยยูบอันศอรีย์เป็นผู้รายงาน (ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 539-540)

ท่านศาสดาได้กล่าอีกว่า“และทุกๆคำพูดหรือการกระทำที่อะลีได้ทำล้วนตรงกันอย่างสมบูรณ์กับคำเชิญชวนของศาสนา อะลีเป็นผู้ที่มีความรู้ในหลักชะรีอะฮฺ (หลักปฏิบัติ) และความรู้ทั้งหลายของอิสลาม มากที่สุดในหมู่ของประชาชน”

และกล่าวอีกว่า“วิทยปัญญานั้นมี 10 ส่วน 9 ส่วนนั้นอยู่ที่อะลี และอีก 1 ส่วนกระจัดกระจายอยู่ในหมู่ของประชาชน” (อัล-บิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ 7 :359)




ประการที่สาม


อะลีได้รับใช้อิสลามไว้อย่างมากมาย และการเสียสละของท่านนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าจะหาสิ่งในมาเทียบเคียงได้ เช่น ท่านเสียสละนอนแทนที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในคืนของการอพยพหรือในสงครามต่างๆ เช่น สงครามอุฮุด คอนดัก คัยบัรฺ และอื่นๆ ซึ่งสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าถ้าในสงครามเหล่านั้นไม่มีท่านอะลีอยู่ แน่นอนอิสลามคงไม่เติบโตจวบจนถึงปัจจุบัน และคงตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของศัตรู หรือถูกขุดรากถอนโคนไปนานแล้ว*

อนึ่ง เมื่อผู้ปฏิเสธชาวมักกะฮฺตัดสินใจว่า ต้องฆ่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยได้มาล้อมบ้านตั้งแต่หัวค่ำ ท่านศาสดาจึงตัดสินใจอพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และก่อนไปท่านได้สั่งแก่ท่านอะลีว่า “อะลีเจ้าพร้อมที่จะนอนแทนที่ฉันไหม เพื่อจะได้อำพรางพวกศัตรูว่า ฉันยังนอนหลับอยู่พวกเขาจะได้ไม่ติดตามฉัน”ท่านอะลีได้ตอบรับคำของท่านศาสดาด้วยกับความกล้าหาญทั้งที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง



ประการที่สี่


เหตุการณ์เกี่ยวกับเฆาะดีรคุม เป็นเหตุการณ์ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการแต่งตั้งท่านอะลีให้เป็นตัวแทนของท่านต่อหน้าสาธารณชนอย่างเป็นทางการ และถือว่าท่านอะลี คือ “ผู้สืบตำแหน่งของท่าน”

หะดีษเกี่ยวกับเฆาะดีรคุม เป็นหะดีษที่ชัดเจนอย่างยิ่งในหมู่ของ สุนนีย์และชีอะฮฺซึ่งได้มีเศาะฮาบะฮฺเกินกว่า 100 คนเป็นผู้รายงานด้วยตัวบท และสายรายงาที่แตกต่างกันและมีบันทึกไว้ทั้งในตำราของสุนนีย์และชีอะฮฺ หารายเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 79, หนังสืออัลเฆาะดีร อัลลามะฮฺอามีนี

แน่นอน อะลีนั้นมีความประเสริฐเฉพาะตัว ที่แตกต่างไปจากคนอื่นซึ่งเป็นที่เห็นพร้องต้องกันของทุกฝ่ายดังที่มีบันทึกไว้ในตำราต่างๆมากมายเช่น ตารีคยะอฺกูบีย์ พิมพ์ที่นะญัฟ 2 :138 -140 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 : 156 เศาะฮีย์บุคคอรีย์ 4 : 107 มุรูญุซซะฮับ 2 : 437 อิบนุอะบิ้ลหะดีด 1 : 127 และหน้าที่ 161 เป็นต้น

ความรักแบบสุดโต่งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีต่อท่านอะลี ซึ่งท่านได้แสดงอย่างออกหน้าออกตามีบันทึกอยู่ใน (เศาะฮีย์มุสลิม 15 : 176 เศาะฮีย์บุคคอรีย์ 4 : 207 มุรูญุซซะฮับ 2 : 23 – 2 : 437 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 : 127 และหน้าที่ 181 )

โดยธรรมชาติแล้วเศาะฮาบะฮฺส่วนหนึ่งที่มีความเข้าใจถึงแก่นแท้ของความจริง เกิดความหวัง และรอคอยว่า วันหนึ่งข้างหน้าพวกเขาจะได้ปฏิบัติตามท่านอะลีเหมือนกับวันนี้ที่พวกเขาได้ปฏิบัติตามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แต่มีเศาะฮาบะฮฺอีกส่วนหนึ่ง ไม่พอใจต่อการกระทำของท่านศาสดา พวกเขามีความอิจฉาริษยาและเกิดอัคติในใจขึ้น

และนอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วนามของชีอะฮฺอะลีหรือชีอะฮฺอะฮฺลุลบัยตฺได้ถูกท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวเรียกไว้อย่างมากมายหลายต่อหลายครั้งด้ยวกัน*

ท่านญาบีรฺกล่าวว่า ฉันได้นั่งอยู่ใกล้ๆกับท่านศาสดา และขณะนั้นได้เห็นท่านอะลีเดินมาแต่ไกลซึ่งท่านศาสดาได้กล่าวขึ้นว่า“ฉันขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในฝ่ามือของเขาว่า ชายผู้นี้และชีอะฮฺของเขาคือผู้สัตย์จริง ที่จะได้รับความช่วยเหลือในวันกิยามะฮฺ” ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่าเมื่อโองการ“แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และประพฤติสิ่งดีงามต่างๆ พวกเขาเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุด” (อัล-บัยยินะฮฺ: 7) ได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า หลักฐานที่ยืนยันถึงโองการดังกล่าวคือเจ้าและชีอะฮฺของเจ้า ซึ่งในวันกิยามะฮฺเจ้าจะพึงพอใจในพระองค์ และพระองค์ทรงพึงพอพระทัยต่อเจ้า” (หะดีษทั้งสองกับอีกหลายหะดีษมีกล่าวไว้ใน ตับสีรฺอัด-ดูรุ้ลมันษูรฺ 6 : 379 และฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 326 )




หลักศรัทธาของชีอะหฺ


เตาฮีด (เอกภาพ) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากพระองค์ ศรัทธาว่าพระองค์มีอำนาจเหนือทุกสิ่ง พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง และพระผู้ทรงกำหนด

  1. อะดาละหฺ (ความยุติธรรม) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺทรงยุติธรรมยิ่ง


  2. นุบูวะหฺ (ศาสดาพยากรณ์) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺได้ทรงส่งศาสนทูตต่าง ๆ ที่อัลลอหฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์ หนึ่งในจำนวนนั้นคือนบีมุฮัมมัด ที่ได้รับคัมภีร์อัลกุรอาน ในนั้นมีคำสั่งสอนให้มนุษย์ศรัทธาต่ออัลลอหฺ ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะหฺ ทาสผู้รับใช้อัลลอหฺ มีบทบัญญัติ และพงศาวดารของประชาชาติในอดีต เพื่อเป็นข้อคิดและอุทธาหรณ์


  3. อิมามะหฺ (การเป็นผู้นำ) ศรัทธาว่าผู้นำสูงสุดในศาสนาจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาสนทูตมุฮัมมัดเท่านั้น จะเลือกหรือแต่งตั้งกันเองไม่ได้ ผู้นำเหล่านั้น มี 12 คนคือ อะลีย์ บินอะบีฏอลิบและบุตรหลานของอะลีย์ และฟาฏิมะหฺอีก 11 คน


  4. มะอาด (การกลับคืน) ศรัทธาในวันฟื้นคืนชีพ คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้
    ทัศนะที่หลายฝ่ายมีต่อชีอะห์ ผู้ยึดตามครอบครัวของท่านศาสดา(ศ.) กล่าวหาว่า ชีอะห์นั้นเป็นคนละศาสนา โดยปราศจากเหตุผล ที่จะรับได้ แต่ในความเป็นจริง ชีอะห์อิมาม 12 นั่นเอง คือ อิสลามที่แท้จริง


ซุนนีย์ (นิยมอ่านว่า อะหฺลุซซุนนะหฺ วัลญะมาอะหฺ)



คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะหฺลุซซุนนะหฺ วะ อัลญะมาอะหฺ (أهل السنة والجماعة) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีย์ที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกสะละฟีย์
ที่มาของคำ ซุนนีย์

คำว่า ซุนนีย์ มาจาก อัซซุนนะหฺ (السنة)แปลว่า คำพูดและการกระทำหรือแบบอย่างของศาสดามุฮัมมัด (ศ) คำว่า ญะมาอะหฺ คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ผู้ที่บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาคือ อะฮฺมัด บินฮันบัล (ฮ.ศ. 164-241 / ค.ศ. 780-855)

คำว่า “السنة - อัซซุนนะหฺ” เป็นคำที่ท่านนบีมุฮัมมัด มักจะใช้บ่อยครั้งในคำสั่งสอนของท่าน เช่น ในฮะดีษศ่อฮีฮฺที่บันทึกโดยอิมามอะฮฺมัด, อัตติรมีซีย์, อะบูดาวูด และอิบนุมาญะหฺ ซึ่งท่านนบีได้กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงยึดมั่นในแนวทางของฉัน( سُنَّتِي ) และแนวทางของผู้นำที่อยู่ในแนวทางอันเที่ยงธรรมของฉัน(อัลคุละฟาอ์ อัรรอชิดูน)ที่จะมาหลังฉัน จงเคร่งครัดในการยึดมั่นบนแนวทางนั้น จงกัดมันด้วยฟันกราม(คืออย่าละทิ้งเป็นอันขาด) และจงหลีกให้พ้นจากอุตริกรรมในกิจการของศาสนา เพราะทุกอุตริกรรมในกิจการศาสนานั้นเป็นการหลงผิด”

อะหฺลุซซุนนะหฺ วะ อัลญะมาอะหฺฺ ( أَهْلُ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ ) ก็คือ ผู้ที่ยึดมั่นในซุนนะหฺ(แนวทางของท่านนบีมุฮัมมัด) และยึดมั่นในสิ่งที่บรรดากลุ่มชนมุสลิมรุ่นแรกยึดมั่น(บุคคลเหล่านั้นคือบรรดาศ่อฮาบะหฺและบรรดาตาบิอีน) และพวกเขารวมตัวกัน(เป็นญะมาอะหฺ) บนพื้นฐานของซุนนะหฺ ซึ่งชนกลุ่มนี้อัลลอหฺได้กล่าวถึงความประเสริฐของพวกเขาไว้ว่า “บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ (ชาวมุฮาญิรีนจากนครมักกะหฺ) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรจากนครมะดีนะหฺ) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้น อัลลอหฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งสวนสวรรค์อันหลากหลายที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเบื้องล่าง พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” (ซูเราะหฺอัตเตาบะหฺ : 100)


ประวัติ


ในสมัยการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะหฺ คำสั่งสอนแห่งอัลกุรอานและแห่งศาสนทูตถูกละทิ้ง ชาวมะดีนะหฺผู้เคร่งครัดถูกได้รับความกดดันจากตระกูลอุมัยยะหฺผู้ปกรองอาณาจักรอิสลาม และภายใต้ความกดดันนั้นได้เกิดหล่อหลอมเป็นกลุ่มผู้ยึดมั่นในแนวทางอิสลามแบบเดิม เพื่อต่อต้านตระกูลอุมัยยะหฺ โดยเฉพาะหลังจากที่กองทัพจากชาม ในสมัยการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะหฺ ได้สังหารฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด พร้อมกับญาติพี่น้อง ที่กัรบะลาอ์ 73 คนในปี ค.ศ.680 และต่อมาในปี ค.ศ.683 ยะซีดส่งกองทัพเพื่อโจมตีพระนครมะดีนะหฺที่อับดุลลอหฺ บินอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ เป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของยะซีด และโจมตีมักกะหฺ ที่อับดุลลอหฺ อินนุซซุเบรสถาปนาตนเองเป็นคอลีฟะหฺแห่งอาณาจักรอิสลาม ชาวเมืองมะดีนะหฺร่วมกันออกต้านทัพของยะซีด ที่นำโดยอุกบะหฺ ณ สถานที่ ที่มืชื่อว่า อัลฮัรเราะหฺ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จนกองทัพของยะซีดสามารถเข้าปล้นสะดมเมืองมะดีนะหฺ เป็นเวลาสามวันสามคืนตามคำสั่งของยะซีด ทหารชาม เข่นฆ่าผู้คน และข่มขืนสตรี จนกระทั่งมีผู้คนล้มตายประมาณ 10,000 คน ในจำนวนนั้นมีบุคคลสำคัญ 700 คน นอกจากนั้นมีผู้หญิงตั้งท้องเนื่องจากถูกข่มขืนชำเราอีก 500 คน หลังจากนั้นกองทัพชามก็มุ่งสู่มักกะหฺเพื่อปราบปราม อิบนุซซุเบร โดยเข้าเผากะอฺบะหฺ และเข่นฆ่าผู้คน ประชาชนชาวมุสลิมต่อต้านการปกครองตลอดมา แต่แล้วในปี ค.ศ.692 อับดุลมะลิก บินมัรวานก็ส่ง ฮัจญาจญ์ บินยูสุฟ อัษษะกอฟีย์ มาโจมตีมักกะหฺอีกครั้ง ครั้งนี้อับดุลลอหฺ อิบนุซซุเบร ถูกสังหารและศพถูกตรึงที่ไม้ ปักไว้หน้ากะอฺบะหฺ ส่วนกะอฺบะหฺก็ถูกทำลาย

ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนในอาณาจักรอิสลามแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มชนใหญ่ ๆ พวกที่ฝักใฝ่ทางโลกก็สนับสนุนการปกครองของตระกูลอุมัยยะหฺ พวกที่ต่อต้านการปกครองระบอบคอลีฟะหฺ ยึดถือบุตรหลานศาสนทูตเป็นผู้นำก็คือพวกชีอะหฺ พวกที่เชื่อว่าบรรดาสาวกคือผู้นำและสานต่อสาส์นแห่งอิสลามหลังจากนบีมุฮัมมัด พวกนี้คือ อะหฺลุซซุนนะหฺ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์นี้ เพราะ คำว่า ซุนนะห วัลญะมาอะหฺ ถูกบัญญัติขึ้นมาจริง ๆ โดยอะฮฺมัด บินฮันบัล (ค.ศ.780-855/ฮ.ศ.164-241) นอกจากนี้ยังมีพวกคอวาริจญ์ ที่เป็นกบฏและแยกตัวออกจากอำนาจการปกครองของอิมามอะลีย์ เมื่อครั้งที่เป็นคอลีฟะหฺที่ 4


ในฮิจญ์เราะหฺศตวรรษที่ 3 และที่ 4 ได้มีการรวบรวมฮะดีษขึ้นมา จัดเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม ในสายอะหฺลุซซุนนะหฺ มีมากกว่า 10 พระวจนานุกรม ที่สำคัญคือ 6 พระวจนานุกรม ที่ผู้รวบรวม โดย อัลบุคอรีย์, มุสลิม, อัตตัรมีซีย์, อะบูดาวูด, อิบนุมาญะหฺ และอันนะซาอีย์ นอกจากนี้ยังมีพระวจนานุกรมที่รวบรวมโดย มาลิก บินอะนัส (เจ้าสำนักมาลิกีย์), อะฮหมัด บินฮันบัล (เจ้าสำนักฮันบะลีย์), อิบนุคุซัยมะหฺ, อิบนุฮิบบาน และอับดุรรรอซซาก ในยุคหลังนี้ได้มีการตรวจสอบสายรายงานอย่างถี่ถ้วน พระวจนานุกรมอัลบุคอรีย์และมุสลิมได้รับการยอมรับมากที่สุดในสังคมมุสลิมซุนนีย์



สำนัก หรือ ทัศนะ นิติศาสตร์อิสลาม


ชะรีอะหฺ (شريعة) หรือ นิติบัญญัติอิสลามตามทัศนะของซุนนีย์นั้น มีพื้นฐาน มาจากอัลกุรอานและซุนนะหฺ (อิจย์มาอฺ) มติฉันท์ของเหล่าผู้รู้ และกิยาส (การเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่มีอยู่แล้ว) นิกายซุนนีย์มีในอดีตมี 17 สำนัก แต่ได้สูญหายไปกับกาลเวลา ในปัจจุบันนิกายซุนนีย์มี 4 สำนัก ที่เป็นสำนักเกี่ยวกับฟิกหฺ (นิติศาสตร์อิสลาม) ได้แก่



  1. ฮะนะฟีย์ (ทัศนะของอะบูฮะนีฟะหฺ นุอฺมาน บินษาบิต)

  2. มาลีกีย์ (ทัศนะของมาลิก บินอะนัส)

  3. ชาฟีอีย์ (ทัศนะของมุฮัมมัดมัด บินอิดริส อัชชาฟิอีย์) - ผู้ที่ยึดถือทัศนะนี้คือ คนส่วนใหญ่ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย

  4. ฮันบะลีย์ (ทัศนะของท่านอะฮฺมัด บินฮันบัล)

ปัจจุบันมีอีกกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มที่ไม่ได้ยึดถือหรือสังกัดตนอยู่ใน 4 กลุ่มข้างต้น แต่การวินิจฉัยหลักการศาสนาจะใช้วิธีศึกษาทัศนะของทั้ง 4 กลุ่มแล้ววิเคราะห์ดูว่าทัศนะใดที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยยึดอัลกุรอานและซุนนะฮฺเป็นธรรมนูญสำคัญในการวินิจฉัยเรื่องต่างๆในศาสนา
สำนัก หรือ ทัศนะ เกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)

นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ
สำนักมุอฺตะซิละหฺ (معتزلة) จัดตั้งขึ้นโดย วาศิล บินอะฏออ์ (ค.ศ.699-749) ศิษย์ที่มีความคิดแตกต่างจากฮะซัน อัลบัศรีย์ (ค.ศ.642-728) ผู้เป็นอาจารย์

สำนักอัชอะรีย์ มาจากแนวคิดของอะบุลฮะซัน อัลอัชชะรีย์(ค.ศ.873-935) แต่ผู้ที่พัฒนาแนวคิดนี้ คือ อัลฆอซาลีย์ นักวิชาการศาสนาและปรมาจารย์ศูฟีย์

สำนักมาตุรีดีย์ เป็นทัศนะของอะบูมันศูร อัลมาตุรีดีย์ (มรณะ ค.ศ.944) ในตอนแรกเป็นสำนักปรัชญาของชนกลุ่มน้อย ต่อมาเมื่อเป็นที่ยอมรับของเผ่พันธุ์เติร์ก และพวกออตโตมานมีอำนาจ ก็ได้ทำให้สำนักนี้แพร่หลายในเอเชียกลาง

สำนักอะษะรีย์ เป็นทัศนะของ อะฮฺมัด บินฮันบัล ผู้เป็นเจ้าสำนักฟิกหฺดังกล่าวมาแล้ว
หากมุอฺตะซิละหฺแยกตัวออกจากสำนักของ ฮะซัน อัลบัศรีย์ ย่อมแสดงว่าก่อนหน้านั้นต้องมีสำนักปรัช ญามาก่อนแล้ว ฮะซัน อัลบัศรีย์ เองก็มีแนวคิดของตนเช่นกัน นั่นก็เพราะ ฮะซัน อัลบัศรีย์ เป็นปรมาจารย์ของสำนักศูฟีย์ ที่ภายหลังแตกขยายเป็นหลายสาย

บุคคลสำคัญ


Nelson Mandela



เนลสัน โรลิห์ลาห์ลา มันเดลลา (Nelson Mandela เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461) เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้คนแรก ที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตย ก่อนหน้านี้เป็นนักเคลื่อนไหวตัวยงเพื่อต่อต้านนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ จากที่แรกเริ่มเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางสันติ ได้กลายมาเป็นผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านใต้ตินโดยใช้อาวุธ เช่นการก่อวินาศกรรม



ในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้นำต่างชาติที่นิยมนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันในแอฟริกาใต้ เช่นมากาเรท เท็ตเชอร์ และโรนัลด์ เรแกน ได้ประนามกิจกรรมเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้าย และนอกประเทศแอฟริกาใต้ เนลสันเป็นที่รู้จักในฐานะนักต่อต้านนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกัน เขาถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการถูกคุมขังในห้องขังเล็กๆบนเกาะโรบเบน

การถูกคุมขังนี้ได้กลายมาเป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายแยกคนต่างผิวที่ถูกกล่าวถึงไปทั่ว เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวในปีพ.ศ. 2537 นโยบายประสานไมตรีที่เนลสันได้นำมาใช้ทำให้แอฟริกาใต้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แห่งประชาธิปไตย ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ ที่ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่เชื่อว่า ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ได้อิทธิพลจากเนลสัน ขณะนี้ เนลสันมีอายุกว่า 90 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีบุคคลทางการเมืองบางคนยังยกย่องเขาในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส

มาดิบา เป็นชื่อใช้ขนานนามสมาชิกชายอาวุโสของตระกูลแมนเดลลาอย่างให้เกียรติ อย่างไรก็ดี ในแอฟริกาใต้ ชื่อนี้จะหมายถึงเนลสัน แมนเดลลา