11/2/52

South Africa

ธงชาติ




ตราแผ่นดิน



คำขวัญ
!ke e: ǀxarra ǁke (ภาษาแซม: Unity In Diversity or literally, Diverse People Unite)

เพลงชาติ
National anthem of South Africa

เมืองหลวง
เคปทาวน์ (ทางฝ่ายนิติบัญญัติ)
พริทอเรีย (ทางฝ่ายบริหาร)
โบลเอมฟอนเทอิน (ทางฝ่ายศาล)

เมืองใหญ่สุด
โยฮันเนสเบิร์ก

ภาษาราชการ
ภาษาอัฟริกัน, ภาษาอังกฤษ, ภาษาซูลู, ภาษาโชซา, ภาษาสวาติ, ภาษาเอ็นเดเบลี, ภาษาโซโทใต้,
ภาษาโซโทเหนือ, ภาษาซองกา, ภาษาสวันนา, ภาษาเวนดา

รัฐบาล
ประชาธิปไตย

เนื้อที่
ทั้งหมด 1,219,912 กม.² (ลำดับที่ 25th)

ประชากร
2005 ประมาณ 44,344,136 (อันดับที่ 26th)
ความหนาแน่น 36/กม.² (อันดับที่ 136th)

GDP (PPP)
2004 รวม $501,667,000,000 (อันดับที่ 21st)
ต่อประชากร $10,798 (อันดับที่ 60th)

สกุลเงิน
แรนด์ (ZAR)


ประเทศแอฟริกาใต้ หรือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: The Republic of South Africa)
หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า "แอฟริกาใต้" (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับ ประเทศนามิเบีย ประเทศบอตสวานา ประเทศซิมบับเว ประเทศโมซัมบิก และ ประเทศสวาซิแลนด์ ส่วนประเทศเลโซโท (Lesotho) เป็นดินแดนที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชรและ ทองคำ



ที่ตั้ง อยู่ทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา

  • ทิศเหนือ ติดนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดโมซัมบิก และสวาซิแลนด์
  • ทิศตะวันออก ติดมหาสมุทรอินเดีย

พื้นที่

1,221,037 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5.5 เท่าของอังกฤษ มีเขตแดนประชิดชายฝั่ง
มหาสมุทรยาวประมาณ 2,954 กม.(10,836 ไมล์)

ประชากร

มีชาวพื้นเมืองผิวขาวได้แก่ ชาวแอฟริกัน ที่สืบเชื้อสายจากชาวดัตช์ ที่มาตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มแรก ปัจจุบันมีทั้งชาวดัตช์ เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ และชนเผ่าพื้นเมือง คือ ซูลู

วัฒนธรรม

ดอกไม้ประจำชาติ ดอกคิง โพรเธีย และสัตว์ประจำชาติคือ กวาง Springbok

ศาสนา

คริสตร์ (ร้อยละ 68) มุสลิม (ร้อยละ 2) ฮินดู (ร้อยละ 1.5) นับถือลัทธิความเชื่อแบบดั้งเดิม (ร่อยละ 28.5)

วันชาติ


27 เมษายน


การเมืองการปกครอง


การเมือง

แอฟริกาใต้จัดให้มีการเลือกตั้งโดยไม่แบ่งแยกผิวพันธ์ครั้งแรกขึ้นในระหว่างวันที่ 26 – 29 เมษายน 2537 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระดับชาติ 200 คน และในระดับท้องถิ่นอีก 200 คน รวมทั้งหมด 400 คน และเลือกตั้งวุฒิสมาชิก 9 มลรัฐ ๆ ละ 10 คน รวมเป็น 90 คน ซึ่งต่อมาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกได้ร่วมกันทำหน้าที่ Constitutional Assembly จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวรสำหรับใช้เป็นรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 400 คน เป็นผู้เลือกตั้ง

ประธานาธิบดี 1 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ และหัวหน้าคณะรัฐบาลในการบริหารประเทศมีรองประธานาธิบดี 2 คน ซึ่งเป็นผู้แทน 2 พรรคแรกที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2537 ปรากฏว่า พรรคสำคัญ 3 พรรคที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด คือ พรรค ANC (African National Congress) ได้รับเลือก 252 คน พรรค NP (National Party) ได้รับ 84 คน พรรค IFP (Inkatha Freedom Party) ได้รับ 43 คน

ผู้ที่ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี คือ นาย Nelson R. Mandela และรองประธานาธิบดีอีก 2 คน ได้แก่ นาย Thabo Mbeki และนาย FW de Klerk ผู้แทนพรรค NP (ต่อมานาย De Klerk) ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนมิถุนายน 2539) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 รัฐสภาของแอฟริกาใต้ได้ให้การรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเป็นฉบับถาวร และในวันที่ 4 ธันวาคม 2539 ศาลรัฐธรรมนูญของแอฟริกาใต้ได้มีฉันทามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว

ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม 2539 ประธานาธิบดี Mandela ได้ลงนามในร่างรัฐธรรมนูญฯ และประกาศให้มีผลบังคับใช้ในระหว่างวันที่ 16 – 21 ธันวาคม 2540 ได้มีการประชุมพรรค ANC ครั้งที่ 50 ที่เมือง Mafikeng ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เลือกตั้งนาย Thabo Mbeki รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐแอฟริกาใต้และรองประธานพรรค ANC เป็นประธานพรรค ANC แทนประธานาธิบดี Mandela ซึ่งได้สิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งประธานพรรค ANC เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2540 รัฐบาลแอฟริกาใต้ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามระบอบประชาธิปไตยสมัยที่ 2 ใน วันที่ 2 มิถุนายน 2542 ผลการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 มิถุนายน 2542 ปรากฏว่าพรรค ANC ได้รับคะแนนเสียงข้างมาก โดยได้คะแนนเสียงร้อยละ 66.4 จากผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดจำนวน 15.93 ล้านคน ซึ่งนาย Thabo Mbeki หัวหน้าพรรค ANC ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาแอฟริกาใต้ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้คนใหม่ นาย Thabo Mbeki เข้าร่วมพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2542 และจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นเวลา 5 ปี

เศรษฐกิจการค้า

ลักษณะโดยทั่วไป แอฟริกาใต้มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรี และมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งคือมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว (First World) ควบคู่ไปกับโครงสร้างของเศรษฐกิจที่ด้อยพัฒนา (Third World) ในชุมชนของคนผิวดำ พื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ คือ อุตสาหกรรมการผลิตแร่และการเกษตร ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเกษตรเป็นสาขาที่ทำรายได้มากที่สุด แต่ปัจจุบันสาขาอุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น และทำรายได้มากที่สุด แต่การผลิตแร่ก็ยังมีความสำคัญในการส่งออก และสินค้าอุตสาหกรรมหลายอย่างเป็นผลผลติที่ใช้วัตถุดิบจากแร่ธาตุ

รัฐบาลแอฟริกาใต้ภายใต้การนำของประธานาธิบดีแมนเดลาได้ประกาศนโยบายหลัก ซึ่งเน้นในแผนงาน Reconstruction and Development Programme (RDP) อันเป็นโครงการระยะ 5 ปี ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (ระหว่างปี พ.ศ. 2537 –2542 โครงการสำคัญที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ โครงการสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ การจัดหาประปา ไฟฟ้า ที่อยู่อาศัย การสาธารณสุขและสวัสดิการสำหรับคนพิการและคนสูงอายุ การให้การอุดหนุนการศึกษาในภาคบังคับและการสร้างงาน ฯลฯ
ทรัพยากร

แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ และเป็นประเทศผู้ผลิตทางคำรายใหญ่ที่สุดของโลก แร่ธาตุหลายอย่างในแอฟริกาใต้ถือเป็นแหล่งแร่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ ทองคำ, Chromium, Flurospar, Manganese และ Vanadium ส่วนผลผลิตแร่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ เพชร, Platinum, Iron ore, Uranium, Asbestos, Alumino-Silicates, Antemone, Zirconium, Tritatium ส่วนพลังงาน แอฟริกาใต้ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้พลังงานจากถ่านหินและ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมและในการทำความร้อน แอฟริกาใต้นำเข้าน้ำมันบ้าง แต่สามารถผลิตน้ำมันจากถ่านหินได้เองด้วย และกำลังทำการสำรวจก๊าซธรรมชาติอยู่ในด้านทรัพยากรแรงงาน แอฟริกาใต้ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือแรงงานส่วนใหญ่ที่มีเป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือ

อุตสาหกรรม

ผลผลิตด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุปกรณ์ด้านการขนส่ง และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักร แก้ว กระดาษ และสิ่งพิมพ์ สิ่งทอ เสื้อผ้าและเครื่องหนัง อุตสาหกรรมไม้และผลผลิตจากไม้ นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังมีอุตสาหกรรมผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วย

การเกษตร
แอฟริกาใต้มีพื้นที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกเพียงร้อยละ 15 ผลผลิตการเกษตรขึ้นกับดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ แอฟริกาใต้ประสบภาวะแห้งแล้งมาหลายปี เนื่องจากปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เพิ่งจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2537 ผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี อ้อย ผลไม้ประเภทองุ่น ส้ม ผักสด ปศุสัตว์ และสัตว์ปีก เนื้อแกะ แพะ นม ไข่ ขนสัตว์

การค้าต่างประเทศ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ เยอรมัน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา อิตาลี และประเทศแอฟริกาอื่น- สินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ เครื่องจักร อุปกรณ์การขนส่ง น้ำมันและอาวุธ เคมีภัณฑ์ อาหาร และผลิตผลการเกษตร สิ่งทอ อุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ยางและพลาสติก เยื่อกระดาษและกระดาษ วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม- สินค้าออกที่สำคัญ คือ ทอง Platinium, Uranium อาวุธ แร่ธาตุอื่น ๆ เพชร และอัญมณี ผลิตผลการเกษตร เคมีภัณฑ์ สิ่งทอและขนสัตว์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เยื่อกระดาษ กระดาษ ยานยนต์ อุปกรณ์การขนส่ง


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
ด้านการเมือง

รัฐบาลไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการกงสุลกับแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2535 และต่อมาได้เปิดสถานกงสุลใหญ่อาชีพ ชั้น 1 ณ เมืองโจฮันเนสเบอร์ก เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2535 ในขณะที่ฝ่ายแอฟริกาใต้ได้เปิดสถานกงสุลใหญ่แอฟริกาใต้ประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535- ไทยและแอฟริกาใต้ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2536 และฝ่ายแอฟริกาใต้ได้ยกระดับสถานกงสุลของตนเป็นสถานเอกอัครราชทูตในวันนั้น- ฝ่ายไทยได้ยกระดับสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโจฮันเนสเบอร์กขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียคนปัจจุบัน คือ นายจีระศักดิ์ ธเนศนันท์
ด้านเศรษฐกิจ
  1. แอฟริกาใต้ถือว่าเป็นตลาดใหม่สำหรับไทยซึ่งเพิ่งเปิดขึ้นหลังจากได้ระงับการ ติดต่อกันไปในช่วงที่มีการปฏิบัติตามมติสหประชาชาติให้คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแอฟริกาใต้ ในปัจจุบันหลังจากเริ่มค้าขายกันเป็นปกติแล้ว การค้าทวิภาคีได้ค่อย ๆ ขยายตัวมากขึ้นในแต่ละปี และยังมีลู่ทางขยายตัวอีกมาก
  2. ปริมาณการค้าสองฝ่ายในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ได้เพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยปริมาณการส่งออกของไทยไปยังแอฟริกาใต้ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ไทยได้เป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2542 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 17,272.71 ล้านบาท โดยไทยส่งออกไปแอฟริกาใต้ 9,302.4 ล้านบาท นำเข้า 7,970.31 ล้านบาท ได้เปรียบดุลการค้า 1,332.09 ล้านบาท

  3. สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังแอฟริกาใต้ 10 อันดับแรกคือ ข้าว ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ
  4. สนค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ที่สำคัญ 10 อันดับแรก คือ เหล็ก และเหล็กกล้า สินแร่ โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเบรก เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์นม แร่ดิบ ยากำจัดศัตรูพืช เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ

  5. ไทยอาจใช้แอฟริกาใต้เป็นประตูเข้าไปสู่ตลาดในภูมิภาคแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม SADC (Southern African Development Community) ได้ด้วย เพราะแอฟริกาใต้มีการนำเข้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้อยู่แล้ว และประเทศเหล่านี้ส่วนมากจะต้องพึ่งพาแอฟริกาใต้ในด้านท่าเรือและเส้นทางขนส่งสินค้า

  6. ในการเยือนแอฟริกาใต้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลง ความร่วมมือกับหอการค้าและอุตสาหกรรมเมืองโจฮันเนสเบอร์ก และกับหอการค้าเมืองเดอร์บัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน และเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538 ได้มีการจัดตั้งหอการค้าแอฟริกาใต้ – ไทยขึ้นอย่างเป็นทางการที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาหอการค้าในลักษณะเดียวกันนี้ในแอฟริกาใต้ เพราะจำนวนนักธุรกิจไทยที่ไปก่อตั้งธุรกิจในแอฟริกาใต้ยังมีน้อยมาก อนึ่ง ในขณะนี้ทางการไทยและแอฟริกาใต้กำลังพิจารณาที่จะทำความตกลงทางการค้าระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายได้เจรจาและสามารถตกลงกันได้ในทุกข้อบทของร่างความตกลงแล้ว รวมทั้งได้ลงนามย่อในร่างความตกลงฯ ไว้แล้ว

  7. ในการเยือนแอฟริกาใต้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 –5 มีนาคม 2536 ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการขนส่ง แอฟริกาใต้ได้ลงนามในความตกลงทางการบินไทย – แอฟริกาใต้ ต่อมาสายการบินแอฟริกาใต้เริ่มมีเที่ยวบินมายังไทย ปัจจุบันสายการบิน South African Airways (SAA) ของแอฟริกาใต้มีเที่ยวบินตรงมายังประเทศไทยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และยังได้ย้ายศูนย์ปฏิบัติการของตนจากประเทศสิงคโปร์มาอยู่ที่ประเทศไทยแทน

  8. ในด้านการลงทุน แม้ว่าปริมาณการลงทุนยังมีน้อยมาก แต่ก็มีธุรกิจต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายอาจทำการลงทุนร่วมกัน อาทิ ในด้านธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรมการก่อสร้าง ธนาคาร อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา และมี infrastructure รองรับ จึงเป็นอีกแหล่งที่นักลงทุนไทยควรให้ความสนใจ ไทยและแอฟริกาใต้ได้ลงนามในอนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างกันเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2539 และรัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดังกล่าว อนุสัญญาฯ นี้จะช่วยเอื้ออำนวยต่อการลงทุนระหว่างสองประเทศ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามย่อความตกลงทางการค้าระหว่างกันแล้ว และกำลังพิจารณาจัดทำความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน

  9. ในปี 2539 บริษัท Italian – Thai Development จากประเทศไทยได้ลงทุนในแอฟริกาใต้เป็นมูลค่าประมาณ 350 ร้านแลนด์ เพื่อสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาว รวมทั้งการสร้างสนามกอล์ฟในบริเวณที่เรียกว่า Knysna

  10. กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นในเมืองโจฮันเนสเบอร์ก เพื่อศึกษาถึงลู่ทางในการทำการค้าและการลงทุนกับแอฟริกาใต้

  11. กลุ่มบริษัท G.Premjee Group ซึ่งเป็นบริษัทนานาชาติมีฐานอยู่ในประเทศไทย ได้จัดตั้งศูนย์บรรจุหีบห่อและจำหน่ายถุงยางอนามัยมูลค่าประมาณ 6 ล้านแรนด์ในมลรัฐ Kwa Zulu-Natal เพื่อขยายกิจการเข้าไปในตลาดทวีปแอฟริกาต่อไป9. นับตั้งแต่แอฟริกาใต้เปิดประเทศได้มีนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศเดินทางไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน สถิตินักท่องเที่ยวจากแอฟริกาใต้มาประเทศไทย นับว่าค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มที่ดีมาตลอด ในปี 2538 มีนักท่องเที่ยวแอฟริกาใต้มาไทย 26,610 คน ปี 2539 25,043 คน และในปี 2541 รวมทั้งสิ้น 33,876 คน แอฟริกาใต้ยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในทวีป

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 สิงหาคม 2553 เวลา 06:43

    เยี่ยม!!!!!

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ13 สิงหาคม 2553 เวลา 03:31

    ย่อให้ได้ใจความหน่อยไม่ได้หรา ??

    ตอบลบ